ออฟฟิตซินโดม

โรคออฟฟิศซินโดรมคืออะไร เป็นแล้วต้องรักษาด้วยวิธีใด

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) จัดอยู่ในกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) ซึ่งมักเกิดจากการที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำไปมา เป็นระยะเวลานานและต่อเนื่อง โดยผลของมันจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบ ตลอดจนปวดเมื่อยตามอวัยวะส่วนอื่น ๆ ไล่ลงมาตั้งแต่คอ หลัง บ่า ไหล่ แขน หรือแม้กระทั่งบริเวณข้อมือก็ไม่เว้น ซึ่งหากผู้ที่พบว่ามีอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม แต่ไม่ทำการรักษาตัวในทันทีที่พบ อาการอาจทรุดหนักลงและลุกลามจนผู้ป่วยมีอาการปวดชนิดเรื้อรังก็เป็นได้

ออฟฟิตซินโดม

สาเหตุของการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม

โดยส่วนมากอาการปวดกล้ามเนื้อจากโรคออฟฟิศซินโดรม มักพบได้บ่อยในคนทำงานออฟฟิศเป็นหลัก นั่นเพราะพฤติกรรมการทำงานที่ต้องนั่นจดจ่ออยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานจนลืมตัว โดยแทบจะไม่มีการขยับตัวปรับเปลี่ยนอิริยาบถใด ๆ หรือลุกขึ้นเดินไปไหนมาไหนเลย ซึ่งนี่เป็นผลทำให้กล้ามเนื้อมัดต่าง ๆ เกิดอาการยึดเกร็งและอักเสบในเวลาต่อมา

อาการแบบไหนที่เข้าข่ายผู้ป่วยเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม

  • เกิดการปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน โดยคุณไม่สามารถระบุตำแหน่งได้อย่างชัดเจน ตรงบริเวณคอ บ่า ไหล่ และสะบัก
  • มีอาการปวดวิงเวียนศีรษะเรื้อรัง หรือในบางคนอาจมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย ซึ่งสาเหตุเกิดจากความเครียดและการใช้สายตาจดจ่อบนหน้าจอคอมพิวเตอร์มากเกินไปเป็นระยะเวลานาน
  • ปวดหลัง เนื่องจากต้องนั่งทำงานอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานหลายชั่วโมง อีกทั้งวิธีท่านั่งก็ไม่ถูกสรีระซะทีเดียว โดยผู้มีอาการมักนั่งหลังค่อม ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อต้นคอเมื่อยล้าและยึดเกร็งอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังรวมไปถึงผู้หญิงที่ใส่ส้นสูงยืนทำงานในออฟฟิศเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้มีอาการปวดหลังจากโรคออฟฟิศซินโดรมได้เช่นเดียวกัน
  • มีอาการปวดหรือเกิดเหน็บชาบริเวณขาลงมา ซึ่งสาเหตุมาจากการนั่งในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน จนทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและการไหลเวียนของเลือดมีความผิดปกติ
  • ตาล้าพร่ามัว เนื่องจากการที่ต้องใช้สายตาจ้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
  • มีอาการมือชา นิ้วล็อค และปวดข้อมือ โดยสาเหตุมาจากการจับเมาส์ในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน ส่งผลให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณมือหรือนิ้วมือ (De Quervain’s disease) อักเสบได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดอาการมือชา จากภาวะพังผืดกดทับเส้นประสาทมีเดียนได้อีกด้วย

การป้องกันการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม

  1. หมั่นออกกำลังกายด้วยท่าที่เหมาะสมกับอาการปวดเมื่อย
  2. ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสมกับสรีระ
  3. เปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานเสียใหม่ โดยจากที่เคยนั่งอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ก็ให้หาเวลาไปเดินผ่อนคลายกล้ามเนื้อและพักสายตาอย่างน้อยทุก ๆ 1 ชั่วโมงกำลังดี
  4. หากพบว่ามีอาการปวดกล้ามเนื้อที่ไม่สามารถหายได้จากการยืดกล้ามเนื้อ การปรับสรีระการทำงาน หรือการดูแลรักษาเบื้องต้นด้วยตนเอง ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคออฟฟิศซินโดรมโดยทันที

โรคออฟฟิศซินโดรม เป็นอาการของผู้ป่วยที่กล้ามเนื้อบริเวณคอ หลัง บ่า ไหล่ แขน หรือข้อมือ ยึดเกร็งและปวด โดยหากผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรมไม่ได้รับการรักษาเมื่อพบว่ามีความผิดปกติดังกล่าว ก็อาจทำให้อาการทรุดหนักลง ตลอดจนพัฒนากลายเป็นอาการปวดแบบเรื้อรัง ซึ่งนั่นสร้างผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอยู่ไม่น้อย ดังนั้น สำหรับคนทำงานออฟฟิศการนั่งทำงานในท่าที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงควรปรับเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลายจากการหดเกร็งเป็นเวลานาน

ยาปลูกผมกับการปลูกผม

ยาปลูกผม กับ การปลูกผม คนละเรื่องเดียวกัน

ยาปลูกผม จริงๆ การทานยาปลูกผมเนี่ยไม่ได้ช่วยให้ตรงบริเวณที่หัวล้านไปแล้วกลับมามีผมขึ้นใหม่ดกดำหรอกนะคะ เพราะบริเวณนั้นไม่มีรากผมให้บำรุงแล้ว เราจึงต้องแก้ไขด้วยวิธีการปลูกผม ดังนั้น การทานยาหรือไม่ทานก็ไม่ได้มีผลกับผมที่เราปลูก เพราะเป็นผมถาวรอยู่แล้ว แต่ที่หมอแนะนำให้ทานยา มันเป็นเพราะว่าผมธรรมชาติในบริเวณที่เราไม่ได้ปลูกจะยังคงร่วงได้อีก สืบเนื่องมาจากฮอร์โมน หรือกรรมพันธุ์นั่นเอง ผมธรรมชาติหลังแนวที่เราปลูกก็จะบางแล้วล้านไปในที่สุด ดูไม่เท่ห์เอาซะเลยใช่มั้ยล่ะคะ

ยาปลูกผมกับการปลูกผม

ยาปลูกผมมีกี่ชนิด

ยาที่นำมาใช้สำหรับการรักษาผมร่วงผมบางหลักๆ แล้วจะมีอยู่ 2 ชนิดได้แก่

  1. ฟีแนสเตอร์ไรด์ (FINASTERIDE)

เป็นยาที่ไปช่วยยับยั้งฮอร์โมนเพศชายที่ชื่อว่า DHT ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดผมร่วงตามกรรมพันธ์ุ จะช่วยให้ผมที่เส้นบางลงกลับมาเส้นใหญ่ขึ้น รวมถึงยับยั้งการร่วงของเส้นผมด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เหรียญมีสองด้านเสมอ ตัวยา Finasteride นั้นจะใช้ได้ผลในผู้ชายและยังมีผลข้างเคียง เช่น ประมาณ 2% ของผู้ที่ทานยา Finasteride จะมีอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

  1. ไมน๊อกซิดิล (MINOXIDIL)

เดิมที ไมน๊อกซิดิล (Minoxidil) เป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง มีกลไกการทำงานคือช่วยขยายหลอดเลือดเพื่อให้ความดันโลหิตลดลง แต่ผลข้างเคียงที่เกิดจากยาก็คือ เมื่อทานยาไประยะหนึ่งจะทำให้ผมหรือขนตามร่างกายหนาขึ้น สาเหตุก็เพราะเมื่อเลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น รากผมจึงได้รับสารอาหารมากขึ้นไปด้วย ผลข้างเคียงที่ว่านี้เลยกลายเป็นประโยชน์ที่นำมาใช้ในการรักษาภาวะผมร่วงผมบาง เพียงแต่ปริมาณยา (Dosage) ที่ใช้จะน้อยกว่า เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบในด้านอื่นๆ กับผู้ใช้นั่นเอง

ยาปลูกผมทานติดต่อกันเป็นเวลานานได้มั้ย

ทีนี้ก็จะมีคำถามต่ออีกว่า ถ้าทานยาปลูกผมติดต่อกันเป็นเวลานานหลายปี จะมีผลข้างเคียงอะไรกับร่างกายมั้ย โดยเฉพาะเรื่องที่คนไข้หลายคนกังวลว่าสมรรถภาพทางเพศจะลดลง จริงๆ แล้วเกิดขึ้นได้เพียง 2% เท่านั้น ซึ่งถือว่าต่ำมากๆ แล้วจะส่งผลต่อตับรึเปล่า ก็นิดหน่อยค่ะ อยู่ในระดับที่ไม่อันตราย ยาปลูกผมจะไม่สะสมในตับ ร่างกายจะขับทิ้งไปเองอยู่แล้ว ถ้าคนไข้มีโอกาสไปตรวจร่างกายประจำปีแล้วพบว่าค่าการทำงานของตับอยู่ในระดับปกติก็ไม่มีปัญหาอะไรค่ะ สามารถทานยาต่อเนื่องได้เลย

ยาหมดอายุ

ยาหมดอายุกินได้จริงหรือ ดูวันหมดอายุยาตรงไหน

ยาหมดอายุ คือ ยาที่มีลักษณะผิดไปจากข้อกำหนด หรือเหลือตัวยาสำคัญน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานของทางผู้ผลิต โดยทางผู้ผลิตจะยึดเกณฑ์จากประกาศกระทรวงสาธารณสุข หรือเกณฑ์ตามตำรายาสากลประเทศต่าง ๆ ซึ่งหลายคนสงสัยว่า ยาหมดอายุกินได้ไหม กินไปจะเป็นอันตราย หรือมีประสิทธิภาพเพียงพอในการรักษาโรคหรือเปล่า

ยาหมดอายุกินได้ไหม

ยาหมดอายุไม่ควรกินค่ะ เนื่องจากตัวยาสำคัญที่ใช้ในการรักษาโรคนั้นได้เสื่อมสลายจนเหลือปริมาณน้อยกว่า 90% ซึ่งไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะรักษาโรคได้ และยาหมดอายุบางชนิดอาจมีแบคทีเรียเจริญเติบโตอยู่ภายใน หากกินหรือใช้ อาจทำให้อาการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้น อีกทั้งยาบางชนิด อาจกลายสภาพเป็นยาพิษ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายโดยเฉพาะตับและไต จนอาจทำให้เสียชีวิตได้เลยค่ะ

วันหมดอายุยา ดูตรงไหน

สำหรับยาที่มีบรรจุภัณฑ์ มักจะระบุวันหมดอายุยาไว้ที่ใต้กล่อง ข้างกระปุก บนแผงยา หรือด้านล่างฉลากยาค่ะ โดยจะใช้คำว่า ยาสิ้นอายุ หรือหากเป็นภาษาอังกฤษจะใช้คำหรือตัวย่อว่า Exp Date, Expiry, Expires, Use By หรือ Use Before แล้วตามด้วยวันเดือนปีที่ยานั้นหมดอายุค่ะ

ยาที่ซื้อมาไม่มีวันหมดอายุบอก ทำไงดี

ปัญหานี้หลายคนอาจเจอได้บ่อย ๆ เนื่องจากโรงพยาบาล หรือตามร้านขายยา มักจะแบ่งขายใส่ซองหรือถุงซิปล็อกมาให้ แล้วด้านหลังของถุงใส่ยาก็จะระบุเพียงว่า เป็นยารักษาอาการอะไร กินเวลาไหนบ้าง และกินครั้งละกี่เม็ดเท่านั้น โดยไม่ได้ระบุวันหมดอายุมาด้วย หรือยาบางอย่างแม้จะมาพร้อมบรรจุภัณฑ์ แต่ก็ไม่ได้มีวันหมดอายุยาบอกเอาไว้

แม้จะไม่ทราบวันหมดอายุยาเหล่านั้นได้แน่ชัด แต่เราสามารถประมาณวันหมดอายุได้ค่ะ เนื่องจากยาที่เปิดใช้แล้ว จะค่อย ๆ เสื่อมสภาพไปเรื่อย ๆ จึงทำให้ยาเสียหรือหมดประสิทธิภาพในการรักษาก่อนวันหมดอายุที่ระบุมาบนผลิตภัณฑ์ค่ะ โดยเราสามารถประมาณวันหมดอายุได้ ด้วยการนับระยะเวลาที่เราได้รับการแบ่งขายยานั้นมา หรือเปิดผลิตภัณฑ์เพื่อใช้งานยานี้ครั้งแรก จนถึงวันเดือนปีปัจจุบันว่าผ่านมานานแค่ไหนแล้ว

ยาหมดอายุ

ยาที่เปิดใช้แล้ว/แบ่งซื้อ หมดอายุเมื่อไหร่

– อายุยาไม่เกิน 1 ปี ได้แก่ ยาแบบเม็ดทุกรูปแบบ ทั้งชนิดเคลือบ (เช่น วิตามิน ยาบำรุงเลือด) ชนิดไม่เคลือบ (เช่น ยาพาราเซตามอล ยาแก้แพ้) และชนิดแคปซูล เช่น (ยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวด)

– อายุยาไม่เกิน 6 เดือน ได้แก่ ยาน้ำชนิดใส (เช่น ยาแก้ไอสำหรับเด็ก ยาน้ำเชื่อมต่างๆ) และยาน้ำชนิดแขวนตะกอน (เช่น ยาแก้ไอน้ำดำ ยาน้ำสตรี ยาธาตุ) ยาชนิดครีม ชนิดเจล และขี้ผึ้ง (เช่น ยาหม่อง ยานวด ยาทาบรรเทาแมลงสัตว์กัดต่อย) ยกเว้น เจลแอลกอฮอล์ หากเปิดแล้ว ต้องรีบใช้ภายใน 3 เดือน

– อายุยาไม่เกิน 1 เดือน ได้แก่ ยาหยอดตา-ป้ายตา แต่หากยานั้นไม่ผสมสารกันเสีย ควรใช้ให้หมดภายใน 1 วัน

– อายุยาไม่เกิน 7 วัน ได้แก่ ยาชนิดผงละลายน้ำที่ผสมน้ำแล้ว แต่ถ้าหากเก็บในตู้เย็นจะอยู่ได้ถึง 14 วัน

สำหรับข้อสงสัยเรื่อง ยาหมดอายุกินได้ไหม ต้องขอย้ำอีกครั้งนะคะว่า ไม่ควรกินเป็นอย่างยิ่ง หากพบแล้วควรทิ้งทันที (ต้องทิ้งอย่างถูกวิธี) อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ ยาเหลือแม้จะยังไม่หมดอายุหรือเสื่อมสภาพ แต่หากเป็นยารักษาโรคเฉพาะ ยารักษาตามอาการ เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ยาแก้อาเจียน ฯลฯ ไม่ควรนำมากินต่อ และให้ผู้อื่นกินโดยเด็ดขาดนะคะ ทางที่ดีที่สุด คือการไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยโรค และกินยาตามคำสั่งแพทย์ค่ะ

8สมุนไพร

8 สมุนไพรไทย รอบบ้าน ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันต่อต้านไวรัส

จากการระบาดของไวรัส โควิด19 ทำให้เราหันมาใส่ใจกับสุขอนามัยและการเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายมากขึ้น ทั้งเรื่องล้างมือบ่อยๆ สวมแมสก์ เว้นระยะห่างทางสังคม หลีกเลี่ยงกิจกรรมเสี่ยง รวมทั้งเลือกอาหารประเภทพืชผักสวนครัว สมุนไพรไทยที่เป็นประโยชน์กับร่างกายมากขึ้น

8สมุนไพร
8สมุนไพร

โดยเฉพาะอาหารที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ต่อต้านไวรัส รู้หรือไม่ว่าอาหารเหล่านี้ไม่ต้องไปหาที่ไหนไกล หาได้จากสมุนไพรริมรั้วรอบๆ บ้านเรานี่แหละ สมุนไพรเหล่านี้ที่มีหลักฐานทางวิชาการในการเสริมภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบ ต้านไวรัส และป้องกันโรคต่างๆ ได้ด้วย

ขมิ้น : ขมิ้นมีสาร Curcuminoids ที่โดดเด่นด้านการลดอักเสบ มีงานวิจัยในหลอดทดลองพบว่า ขมิ้นชัน ช่วยยับยั้งการหลั่งสารอักเสบ และปรับภูมิคุ้มกันไม่ให้ เกิดการทำลายปอดให้เกิดความเสียหายจากการติดเชื้อไวรัส

ทำเมนูอะไรดีนะ : แกงไก่ขมิ้น, ปลาทอดขมิ้น, น้ำต้มขมิ้น

ข่า : เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้ในการรักษาหลอดลมอักเสบ ข่ามี Quercetin เป็นสารกลุ่มโพลีฟีนอล พบในพืชหลายชนิด มีฤทธิ์ลดอักเสบ เสริมภูมิคุ้มกัน ต้านไวรัส และต้านมะเร็ง

ทำเมนูอะไรดีนะ : ต้มข่าไก่, ต้มยำกุ้ง,

ตะไคร้ : คนสมัยก่อนใช้ตะไคร้รักษาปอดบวม แก้ไข้ แก้หวัด รักษามาลาเรีย และยังพบอีกว่าฤทธิ์ต้านการไอ และยังใช้คลายเครียด

ทำเมนูอะไรดีนะ : ยำตะไคร้กุ้งสด, ทอดมันตะไคร้, ไก่ทอดตะไคร้

พริก : พริกเป็นยาขับเสมหะที่ดีมาก สังเกตจากที่เวลาเรากินพริกจะมี น้ำตาไหล น้ำมูกไหล อาหารที่เหมาะกับการฟื้นฟูปอดและระบบ ทางเดินหายใจ มักจะมีส่วนประกอบของพริก กระเทียม และเครื่องเทศ

ทำเมนูอะไรดีนะ : ผัดพริกอ่อนไก่, ยำวุ้นเส้นใส่ พริกขี้หนูสวน, ส้มตำไทย

หัวหอม : ในหัวหอมมีสาร Quercetin สูง ช่วยบลดการอักเสบ ใช้รักษาหลอดลมอักเสบ และอาการไอ

ทำเมนูอะไรดีนะ : ไข่เจียวหอม, หอมชุบแป้ง ทอด, สลัดผัก

เห็ดต่างๆ เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดชิตาเกะ เห็ดไมตาเกะ : มี Beta-glucans ที่จะจับตัวกับผนังเซลล์เม็ดเลือดขาว เพิ่มความเคลื่อนตัวในการดักจับเชื้อโรคแปลกปลอมในร่างกาย

ทำเมนูอะไรดีนะ : ลาบเห็ด, ยำเห็ด, เห็ดย่าง

กะเพรา : มีฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ โดยมีผลยับยั้งเอนไซม์ Neuraminidase ของไวรัส ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญในการรักษา และควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส

ทำเมนูอะไรดีนะ : ผัดกะเพรา, ไก่ซอสกะเพรา

โหระพา : มีฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่และปรับภูมิคุ้มกัน โดยมีผลยับยั้งการหลั่งสารอักเสบหลายชนิด

ทำเมนูอะไรดีนะ : มะเขือยาวผัด โหระพา, ไข่เจียวโหระพา, ห่อหมกใบ โหระพา

Cr. สถาบันการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร